วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ส่งข้อสอบเทคนิคการสอนทางวิทยาศาสตร์
ข้อสอบ
1.ให้ท่านเขียนแสดงพฤติกรรมของครูเพื่อเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
1.1 ส่งเสริมให้เด็กรู้จักสังเกต
คุณครูไม่ควรบอกเด็กจนหมดเพราะท่าเด็กรู้ทุกอย่างเด็กจะไม่เกิดความสงสัยหรือความอยากรู้เพราะเด็ก
ปฐมวัยเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้สังเกตเมื่อเด็กเกิดความสนใจเด็กก็จะเข้าไปสัมผัส
อยากรู้อยากเห็นอยากทดลองคุนครูควรเปิดโอกาสให้เด็กทดลองและได้เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ
ด้วยตนเองกระบวนการเหล่านี้จะทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์คุณครูควรใช้คำถามหรือแนะนำเพื่อฝึกให้
เด็กฝึกสังเกตอ้างอิงจากกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยดังนี้ นิวเมน (Neuman) กล่าวว่าทักษะ
ทางกระบวนการวิทยาศาสตร์มีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยต่อการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะแสดงปริมาณและทักษะการสื่อความหมาย ดังนั้น คุณครู
จึงควรเน้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ควรส่งเสริมและแนะนำให้เด็กสังเกต
1.2 สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
ในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์คุณครูต้องมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะเหมาะกับเด็กทุกคนไม่เจาะจงว่าเด็ก
คนนี้เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ครูควรสร้างความน่าสนใจในกิจกรรม เพราะตัวกิจกรรมเป็นตัวดึงดูดให้เด็ก
เข้ามาสนใจวิทยาศาสตร์เพราะครูมีหน้าที่ต้องทำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ช้าหรือเร็ว
ควรทำให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและสนุกควรหากิจกรรมที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์อยู่
ตลอดเวลาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์อยากทดลองและลงมือปฏิบัติ
1.3 บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ผู้ปกครองจะอยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดดังนั้นผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กเพราะว่าเด็กจะเลียน
แบบของบุคคลในครอบครัวผู้ปกครองมีหน้าที่ดุแลเอาใจใส่ดุแลลูกสนใจพฤติกรรมของลูก เช่น การเล่น
การพูดคุย เพื่อเด็กจะเกิดความเชื่อมั่นรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยจะทำให้เด็ดกล้าแสดงออกเชิงสร้างสรรค์การที่
คุณครูคอยแนะนำวิธีให้แก่ผู้ปกครองในการปฏิบัติที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพราะเด็กจะใช้
เวลาที่บ้านมากกว่าที่โรงเรียนดังนั้นผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและส่งเสริมให้เด็กสนใจและ
เกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยคุณครูคอยให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองว่ากิจกรรมใดที่ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์บ้าง เรื่องอะไร สื่อชนิดใด
1.4 ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและความพอใจ
คุณครูควรปลุกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกและพอใจโดยคุณครูหาวิธีให้เด็กรู้สึกว่า
วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก น่าสวนใจ น่าตื่นเต้นและหน้าค้นหา โดยการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เน้นให้เด็ก
ทดลองด้วยตนเองในการทำกิจกรรมคุณครูควรใช้คำถามกับเด็ก
1.5 สร้างความมั่นใจในตัวเองให้กับเด็ก
เด็กทุกคนมีความสามารถขึ้นอยู่ว่าเด็กจะแสดงออกมามากน้อยต่างกันออกไปดังนั้นคุณครูควรดึงความ
สามารถของเด็กออกมาและสร้างความมั่นใจให้กับเด็กให้เด็กมีความรู้สึกว่าตนเองมีค่าและมีความสามารถ
คุณครูควรฝึกให้เด็กค้นคว้าและสืบค้นด้วยตนเองให้เด็กสังเกตและซักถามโดยที่คุณครูไม่บอกเด็กจนหมด
การที่เด็กเกิดความสงสัยเด็กก็จะอยากค้นคว้าและหาคำตอบด้วยตนเองเมื่อเด็กมีความมั่นใจเด็กก็จะทดลอง
สิ่งที่แปลกใหม่ขึ้นมาและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งเด็กจะมีความภูมิใจและคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมา
2.บทบาทของครูอนุบาลในฐานะครูวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง
คุณครูควรจัดสภาพแววล้อมให้น่าเรียนมากมากที่สุดเพราะการจัดกิจกรรมให้กับเด็กนั้นควรมีอากาศที่สดชื่น
เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาขณะทำกิจกรรมเปิดโอกาสให้เด็ก
แสดงออกอย่างเต็มที่ควรตั้งคำถามให้เด็กได้คิด ได้แก้ปัญหา ลองผิดลองถูก โดยคูณครูไม่ควรต่อว่าหรือ
ใช้คำพุดซ้ำเตอมเด็กเมื่อเด็กทำออกมาผิดเพราะเด็กอยากแสดงออกตามความคิดและตามจินตนาการคุณ
ครูจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กในการทำกิจกรรมและควรเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองคุณครูควรให้คำ
แนะนำและกำลังใจคอยสังเกตเด็กอยู่ห่างๆให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการไม่ใช่คอยทำให้เด็กไป
ทุกอย่างควรฝึกให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตนเองไม่ควรตัดสินเด็กว่าคนไหนทำดีแล้วต้องได้รางวัลหรือคะแนนแต่
ควรส่งเริมให้เด็กแสดงออกตามความสามารถไม่ว่าสิ่งที่ทำออกมาจะดีหรือไม่คุณครูควรให้กำลังใจเป็นการ
เสริมแรงเด็กด้วยคำชื่นชม เป็นต้น
3. การสอนวิทยาศาสตร์ครูต้องเตรียมอะไรบ้าง
ต้องเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและตัวอุปกรณ์นั้นต้องสะอาดและ
ปลอดภัย ในการสอนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่จะต้องนั่งเรียนแต่ในห้องเรียนอย่างเดียวสามารถออกไปเรียนกลาง
สนามได้ เรียนแบบอิสระควรให้เด็กใกล้ชิดธรรมชาติในการสอนวิทยาศาสตร์ควรปนกับการเล่น การทดลอง
ควรเปิดโอกาสค้นคว้าและหาคำตอบเองในการสอนไม่ควรยึดแบบเรียนที่ตายตัว คุณครูควรแนะนำอุปกรณ์
ให้เด็กสนใจและอยากจับต้องควรใช้คำถามกับเด็กและทำกิจกรรมที่แปลกใหม่อยู่เสมอให้เด็กสร้าง
จินตนาการ
4.ตัวอย่างการสอนกิจกรรมวิทยาศาสตร์
อากาศ การทำฟองสบู่
ความคิดรวบยอด อากาศต้องการที่อยู่ ฟองสบู่มีอากาศอยู่ข้างในจึงลอยได้
วัตถุประสงค์ เด็กทำฟองสบู่จากอุปกรณ์ที่กำหนดได้
อุปกรณ์ สบู่เหลวหรือน้ำยาซักผ้า 8 ช้อนโต๊ะ น้ำ 1 ควอท หลอดดุดถ้วยและสีผสมอาหาร
4.1ครูควรใช้คำถามอย่างไรพร้อมยกตัวอย่างคำถาม
จะเกิดอะไรขึ้นกับฟองสบู่ ลองเล่าเกี่ยวกับฟองสบู่ให้ครูฟังซิค่ะ
เด็กจะเป่าฟองสบู่ได้กี่ลูก อะไรที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้บ้าง
เด็กคิดว่าฟองสบู่จะแตกหรือไม่ เวลาที่เด็กๆเป่าฟองสบู่แล้วอะไรอยู่ในฟองสบู่ค่ะ
ฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร ฟองสบู่ออกมาจากหลอดได้อย่างไร
เด็กคิดว่าอะไรอยู่ในฟองสบู่ เด็กๆจะทำให้ฟองสบู่อยู่ได้นานๆอย่างไร
4.2 ครูจัดประสบการณ์เสริมอย่างไรได้บาง
ในการเป่าฟองสบู่นอกจากหลอดแล้วครูควรเพิ่มอุปกรณ์อื่นๆเช่น ก้านผักบุ้ง เป็นต้น
ส่งเสริมให้เด็กวาดภาพฟองสบู่ตามจินตนาการแล้วตกแต่งให้สวยงาม
ให้เด็กเล่าประสบการณ์โดยเล่าเกี่ยวกับฟองสบู่โดยที่ครูจดบันทึกลงกระดาษแผ่นใหญ่จากนั้นคุณครูและเด็ก
ร่วมกันวาดรูปตกแต่งให้สวยงาม
5.ลักษณะกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมมีลักษณะอย่างไร
เป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องระวังมากและให้เด็กทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่และกิจกรรมต้องเหมาะสมตามวัยของเด็ก
และตัวกิจกรรมนั้นต้องแปลกใหม่อุปกรณ์น่าสนใจดึงดูดความสนใจของเด็กเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตน
เองกิจกรรมต้องเน้นให้เด็กสำรวจค้นคว้าควรคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรมและส่งเสริมให้เด็ก
คิดค้นอยู่เสมอต้องเน้นให้เด็กฝึกการสังเกต
ฃนิวเมน (Neuman) ได้เสนอหลักสำคัญนำไปสู่การสังเกตของเด็กปฐมวัยดังนี้
ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาททั้งห้า
ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดลออ
ต้องใช้ความสามารถของร่างกายโดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างระมัดระวังและจาก
ประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กนั้นพัฒนาขึ้นในการสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือการ
เรียนรู้ที่มี่คุณค่า
6.ครูมีวิธีการประเมินการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างไร
สังเกตการตอบคำถาม
สังเกตความสนใจต่อการร่วมกิจกรรม
สังเกตทักษะการสังเกต
สังเกตการจำแนกและเปรียบเทียบ
สรุป mine map
วันพุธที่ 22 กันยายน 2553
กิจกรรมใดบ้างที่เหมาะสม
นำเสนอ mine map เรื่องสัตว์
สรุปกิจกรรมการจัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์
สรุปการจัดกิจกรรม
แล้วนำเสอนเป็น powerpoie สรุปว่าขณะที่เด็กร่วมทำกิจกรรมเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างมีการใช้คำถามกับ
เด็กเช่นไรให้ความร่วมมือขนาดไหนกลุ่มของดิฉันได้จัดกิจกรรมเรื่องแสงแต่ดิฉันและเพื่อนสองคนไปอยู่
ฐานของครูกุ้งเพราะครูกุ้งต้องจัดกิจกรรมอีกฐานหนึ่งดิฉันได้อยู่ฐานกลิ่นมาดามหอมชื่นใจจะมีสิ่งที่อยู่ใน
ขวดแบ่งเป็นสามประเภท มีกลิ่นหอม กลิ่นเหม็น และฉุน แต่ละขวดจะมีสิ่งของอยู่ข้างในคือ กะปิ สบู่เหลว
แอมโมเนียแล้วให้เด็กดม แล้วบอกความรู้สึกว่าดมแล้วเป็นอย่างไร ดิฉันจะพุดคุยและอธิบายให้เด็กเข้าใจ
แล้วใช้คำถามกับเด็กว่าชอบกลิ่นไหนแล้วมีกลิ่นอย่างไรรู้หรือไม่อะไรอยู่ข้างไหน
กิจกรรมที่โรงเรียนอนุบาลสาธิต
การนำเสอนงานสื่อวิทยาศาสตร์เรื่องแสง
ได้อะไรจากการทำกิจกรรมสื่อวิทยาศาสตร์
-เป็นคนตรงต่อเวลาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ตรงต่อเวลาในการส่งงาน
-มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย
-รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-มีความสามัคคีภานในกลุ่ม
วันพุธ ที่ 25 สิงหาคม
การนำเสอนงานหน้าชั้นเรียน
อธิบายสื่อแต่ละชิ้นว่าเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมจะได้อะไรจากสื่อทุกชิ้น มีความปลอดภัยคงทนหรือไม่จะ
อธิบายอย่างไรเมื่อเด็กเข้ามาทำกิจกรรมที่ใช้ภาษาให้เด็กเข้าใจว่าแสงเกิดขึ้นอย่างไร
การประดิษฐ์สื่อจากของเหลือใช้
การประดิษฐ์จากเศษวัสดุ
การทำชั้นวางของจากกล่องรองเท้าเป็นการนำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ชั้นวางของนี้สามารถวาง
ของที่มีน้ำหนักเบาหรือของจุกจิกได้การ
ทำสื่อชิ้นนี้ได้ความรู้จากการคิดค้นที่จะหางานนำเสอนอาจารย์ได้ทำงานเป็นกลุ่มและได้ฝึกความรับผิดชอบ
ต่องานได้รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนและฝึกเป็นคนตรงเวลาตามีทอาจารย์กำหนดไว้
วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553
จงแสดงความคิดเห็นพร้อมอ้างอิงเอกสารตำราที่สนับสนุนความคิดของท่าน
1.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดการสอนให้เด็กเข้าถึงวิทยาศาสตร์จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุนครูหรือผู้ปกครองเช่นกันเพียงแค่หยิบยกเรื่องราวในชีวิตประจำวันหรือธรรมชาติรอบตัวมาสร้างบรรยากาศและกระตุ้นการเรียนรู้ให้หนูน้อยสนุกกับกาค้นคว้าและหาคำตอบได้ก็อาจทำให้นักวิทยาศาสตร์น้อยในวันนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในวันหน้า
2.เพราะปัญญาเป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่างปัญญาเกิดจากกระบวนการคิดที่เราได้สังเกตสิ่งต่างๆจะสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นได้ต้องพัฒนากระบวนการสังเกต การเรียนรู้ของเด็ก และจะเกิดความรู้ตามมาซึ่งเด็กทุกคนช่างสงสัยและมีคำถามที่อยากรู้มากมายอยู่แล้วแต่กลับกลายเป็นว่าเมื่อเด็กเข้าสู่ห้องเรียนความอยากรู้ของเด็กจะค่อยๆลดลงจนเหลือศูนย์เมื่อเด็กจบมหาวิทยาลัย
3.ระบบการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ครูยัดเยียดความรู้ให้เด็กถูกจำกัดอยู่ในกรอบโดยเด็ดขาดการกระตุ้นศักยภาพของเด็กทำให้ประเทศไทยทุกวันนี้แทบไม่มีนักวิทยาศาสตร์ที่ริเริ่มคิดค้นสิ่งใหม่มีแต่นักเทคโนโลยีที่เอาสิ่งที่คนอื่นคิดค้นคว้ามาปรับเปลี่ยนให้ไม่เหมือนเดิม
4.ครูอย่าด่วนอธิบายเมื่อเด็กอยากรู้ไม่อย่างนั้นจำทำให้เด็กตาบอดถ้าอยากให้เด็กฟังก็อย่ารีบบอกจนหมดไม่อย่างนั้นเด็กจะหูหนวก แต่ควรประเมินค่าว่าเด็กสังเกตเห็นอะไรบ้างรับรู้ได้แค่ไหนแล้วครูก็ค่อยๆเพิ่มเติมเข้าไปทีละนิดโดยให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มมากขึ้น
5.ผู้ปกครองต้องมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กโดยจัดสภาพแววล้อมให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีเพราะเด็กจะซึมซับจากผู้ปรครองได้มากถึง90%
6.คุณครูสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กในรูปแบบของกิจกรรมหรือการเล่นต่างๆ การพับกระดาษ การเล่นกลวิทยาศาสตร์หรือจำแนกความแตกต่างของรูปซึ่งเด็กจะมีจินตนาการและมุมมองที่หลากหลายมากกว่าที่ผู้ใหญ่มองเห็นเป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและฝึกทักษะในการจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ
7.การรีไซเคลขยะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กเป็นอย่างดีเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องการจำแนกไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม(รีไซเคิล= การจำแนกประเภท+การรักษาสิ่งแวดล้อม+...)
หรือการเก็บรวบรวมลวดเย็บกระดาษที่ใช้แล้วซึ่งเมื่ออยู่โดเดี่ยวอาจดูน้อยนิดแต่เมื่อนำมารวมกันมากขึ้นก็สามารถนำไปรีไซเคิลได้และแม้ว่าจะมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ไม่มากมายแต่เป็นจุดเริ่มของการคิดสร้างสรรค์ในอนาคต
8.การฝึกหัดถ่ายภาพพืชสัตว์ในธรรมชาติรอบๆตัว ระหว่างคุนครูหรือผู้ปกครองและเด็กๆก็ช่วยกระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นได้ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราพบกับสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อนและทำให้เด็กสนุกกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อหาคำตองให้กับตัวเองทั้งจากผู้รู้ หนังสือ อินเทอร์เน็ต
9.การสอนวิทยาศาสตร์จากประเทศอิสราเอลที่มีแนวคิดการสืบสวนสอบสวนฝึกให้เด็กเข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการพิสูจน์ด้วยตนเองว่าความรู้ที่ได้รับนั้นเป็นเรื่องจริงมีใจเปิดกว้างเผชิญหน้ากับความล้มเหลวได้โดยการเข้าใจความเป็นจริง
10.เด็กเรียนรู้เรื่องราวในชิวิตประจำวันสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและธรรมชาติรอบตัว เช่น วันทั้ง 7 ใน1 สัปดาห์,สิ่งของหรือเศษวัสดุๆและต้นไม้ใบหญ้ารอบตัวซึ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งภาษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ไปพร้อมกับเด็กได้ฝึกสังเเกตสิ่งรอบตัว ฝึกการเรียนรู้ รู้จักแยกแยะและจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆตามลักษณะต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สีสัน ขนาด หรือพื้นที่เป็นต้น
11.คุณครูผู้สอนต้องให้โอกาสเด็กได้สัมผัสด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดและเขาจะรับรู้ได้ด้วยใจ โดยไม่สำคัญว่าถูกหรือผิดแต่เปิดโอกาสให้เด้กได้เรียนรู้ได้ใช้ความคิดและจินตนาการของเขาเองเพื่อกระตุ้นให้เขาอยากเรียนรู้ต่อๆไป
2.เพราะปัญญาเป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่างปัญญาเกิดจากกระบวนการคิดที่เราได้สังเกตสิ่งต่างๆจะสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นได้ต้องพัฒนากระบวนการสังเกต การเรียนรู้ของเด็ก และจะเกิดความรู้ตามมาซึ่งเด็กทุกคนช่างสงสัยและมีคำถามที่อยากรู้มากมายอยู่แล้วแต่กลับกลายเป็นว่าเมื่อเด็กเข้าสู่ห้องเรียนความอยากรู้ของเด็กจะค่อยๆลดลงจนเหลือศูนย์เมื่อเด็กจบมหาวิทยาลัย
3.ระบบการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ครูยัดเยียดความรู้ให้เด็กถูกจำกัดอยู่ในกรอบโดยเด็ดขาดการกระตุ้นศักยภาพของเด็กทำให้ประเทศไทยทุกวันนี้แทบไม่มีนักวิทยาศาสตร์ที่ริเริ่มคิดค้นสิ่งใหม่มีแต่นักเทคโนโลยีที่เอาสิ่งที่คนอื่นคิดค้นคว้ามาปรับเปลี่ยนให้ไม่เหมือนเดิม
4.ครูอย่าด่วนอธิบายเมื่อเด็กอยากรู้ไม่อย่างนั้นจำทำให้เด็กตาบอดถ้าอยากให้เด็กฟังก็อย่ารีบบอกจนหมดไม่อย่างนั้นเด็กจะหูหนวก แต่ควรประเมินค่าว่าเด็กสังเกตเห็นอะไรบ้างรับรู้ได้แค่ไหนแล้วครูก็ค่อยๆเพิ่มเติมเข้าไปทีละนิดโดยให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มมากขึ้น
5.ผู้ปกครองต้องมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กโดยจัดสภาพแววล้อมให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีเพราะเด็กจะซึมซับจากผู้ปรครองได้มากถึง90%
6.คุณครูสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กในรูปแบบของกิจกรรมหรือการเล่นต่างๆ การพับกระดาษ การเล่นกลวิทยาศาสตร์หรือจำแนกความแตกต่างของรูปซึ่งเด็กจะมีจินตนาการและมุมมองที่หลากหลายมากกว่าที่ผู้ใหญ่มองเห็นเป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและฝึกทักษะในการจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ
7.การรีไซเคลขยะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กเป็นอย่างดีเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องการจำแนกไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม(รีไซเคิล= การจำแนกประเภท+การรักษาสิ่งแวดล้อม+...)
หรือการเก็บรวบรวมลวดเย็บกระดาษที่ใช้แล้วซึ่งเมื่ออยู่โดเดี่ยวอาจดูน้อยนิดแต่เมื่อนำมารวมกันมากขึ้นก็สามารถนำไปรีไซเคิลได้และแม้ว่าจะมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ไม่มากมายแต่เป็นจุดเริ่มของการคิดสร้างสรรค์ในอนาคต
8.การฝึกหัดถ่ายภาพพืชสัตว์ในธรรมชาติรอบๆตัว ระหว่างคุนครูหรือผู้ปกครองและเด็กๆก็ช่วยกระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นได้ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราพบกับสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อนและทำให้เด็กสนุกกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อหาคำตองให้กับตัวเองทั้งจากผู้รู้ หนังสือ อินเทอร์เน็ต
9.การสอนวิทยาศาสตร์จากประเทศอิสราเอลที่มีแนวคิดการสืบสวนสอบสวนฝึกให้เด็กเข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการพิสูจน์ด้วยตนเองว่าความรู้ที่ได้รับนั้นเป็นเรื่องจริงมีใจเปิดกว้างเผชิญหน้ากับความล้มเหลวได้โดยการเข้าใจความเป็นจริง
10.เด็กเรียนรู้เรื่องราวในชิวิตประจำวันสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและธรรมชาติรอบตัว เช่น วันทั้ง 7 ใน1 สัปดาห์,สิ่งของหรือเศษวัสดุๆและต้นไม้ใบหญ้ารอบตัวซึ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งภาษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ไปพร้อมกับเด็กได้ฝึกสังเเกตสิ่งรอบตัว ฝึกการเรียนรู้ รู้จักแยกแยะและจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆตามลักษณะต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สีสัน ขนาด หรือพื้นที่เป็นต้น
11.คุณครูผู้สอนต้องให้โอกาสเด็กได้สัมผัสด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดและเขาจะรับรู้ได้ด้วยใจ โดยไม่สำคัญว่าถูกหรือผิดแต่เปิดโอกาสให้เด้กได้เรียนรู้ได้ใช้ความคิดและจินตนาการของเขาเองเพื่อกระตุ้นให้เขาอยากเรียนรู้ต่อๆไป
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
ไปเยี่ยมชมการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสัตหีบ
1.กลุ่มน้ำ
2.กลุ่มอากาศ
3.กลุ่มแสง
4.กลุ่มเสียง
โดยแต่ละกลุ่มเตรียมสื่อแล้วไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสัตหีบแต่เนื่องจากเวลาในการทำกิจกรรมไม่พอเพราะต้องไปทำกิจกรรมที่ฐานทัพเรือสัตหีบ อาจารย์จึงเปลี่ยนให้ไปเข้าร่วมกิจกรรมที่น้องๆโรงเรียนสัตหีบ
จัดไว้ได้โดยการเข้าร่วมพิธีเปิดงานเสร็จแล้วก็เข้าห้องประชุมไปดูวิธีการจัดการเรียนการสอนการก่อตั้งโรงเรียนและออกมาร่วมกิจกรรมที่สนามเห็นวิธีการทำจรวดน้ำกิจกรรมแต่ละฐานหน้าสนใจ เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละฐานแล้วได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนบริเวณโรงเรียนร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้ได้ไปดุการเรียนการสอนในระดับอนุบาลเด็กๆน่ารักมากมีมารยาทเมื่อเจอพี่ๆก็จะยกมือไหว้ทำความเคารพได้เห็นวิธีการสอนการจัดสภาพแววล้อมห้องเรียนเมื่อเสร็จกิจกรรมแล้วก็ร่วมถ่ายรูปกับคณะครูอาจารย์
วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553
น้ำกับวิทยาศาสตร์
28/07/53
วันนี้อาจารย์เปิดวีดีโอให้ดูเกี่ยวกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับน้ำแต่ละกิจกรรมที่ได้ดูนั้นทำให้เราได้เห็น
ปฏิกิริยาของน้ำเมื่อนำมาทดลองได้
การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์เปิดวีดีโอให้ดูเกี่ยวกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับน้ำแต่ละกิจกรรมที่ได้ดูนั้นทำให้เราได้เห็น
ปฏิกิริยาของน้ำเมื่อนำมาทดลองได้
แต่ละกิจกรรมจะมีวิธีการทดลองดังต่อไปนี้
1.สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ
อุปกรณ์
-ผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง
วิธีทำ
-หั่นผลไม้เป็นชิ้นเล็ก
-แล้วรองใช้มือทั้งสองข้างบีบผลไม้
-จะเห็นว่ามีน้ำออกมา
2.การเปลียนสถานะของน้ำ
อุปกรณ์
-น้ำแข็ง/จาน/ภาชนะที่ใช้ต้มน้ำ
วิธีทำ
-ต้มน้ำแข็งให้เดือด
-น้ำแข็งจะละลายกลายเป็นของเหลว
-ต้มต่อไปจนมีไอน้ำขึ้นมา
-นำจานมาวางเหนือภาชนะที่เราใช้ต้มน้ำแข็ง
-สังเกตที่ก้นจานจะมีน้ำหยดลงมา
3.การละเหยของน้ำ
อุปกรณ์
แก้วน้ำ /จานก้นตื้นๆ /น้ำ
วิธีทำ
-เตรียมน้ำไว้2แก้วในปริมานที่เท่ากัน
-ใส่น้ำในปริมาณที่เท่ากันทั้ง 2 ภาชนะ แก้ว จาน
-ตากแดดทิ้งไว้ 1 วันเทน้ำกับไปที่ภาชนะเดิม
-น้ำจะเหลือไม่เท่ากันน้ำในจานหายไปเกือบหมดแต่ในจานจะหายไปนิดเดียว
เพราะว่าน้ำจะได้รับความร้อนเฉพาะส่วนบนเท่านั้นท่าน้ำที่ใส่ในภาชนะที่ได้รับแสงแดดมากก็จะละเหยไว
กว่าภาชนะที่โดนแสงแดดน้อย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการที่ได้ดูวีดีโอนี้
-ได้รู้ความหนาแน่นของน้ำ
-ได้รู้แรงดัน
-ได้รู้แรงตึงผิว
-ได้รู้การดูดซึม
-ได้รู้ว่าทำไมทะเลทรายถึงมัสัตว์อาศัยอยู่และมีพืชอยู่ด้วยได้ทำไมไม่ตาย
-ฝนเกิดจากอะไร
-น้ำคืออะไร มีอะไรเป็นส่วนประกอบ
อาจารย์สั่งงาน
แบ่งกลุ่ม 6คนไปคิดกิจกรรมที่เกี่ยวกับ
น้ำ อากาศ แสง เสียง
วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเขียนโครงการครั้งที่ 1
หน่วยงาน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อโครงการ กิจกรรมลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ อาจารย์จินตนา
ระยะเวลาดำเนินงาน 1 วัน
……………………………………………………………………………………………………………………
หลักการ
เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3-6 ปี อยู่ในช่วงที่มีการเรียนรู้ได้ดีที่สุด และสิ่งที่เรียนรู้ จะเป็นพื้นฐาน ของการ
ดำรงชีวิตในระยะต่อมา ฉะนั้นการปูพื้นฐานให้เด็กได้รู้จักภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มาจัดเป็นกิจกรรม เป็นสาระการเรียนรู้ที่ผสมผสานกับกิจวัตรประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้เด็ก ได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จึงน่าจะเป็น สิ่งที่มีประโยชน์ยิ่ง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ จึงนับได้ว่าเป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษาอนุบาล ครู และผู้ปกครอง ที่จะได้นำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเด็ก อันเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติสืบไป
วัตถุประสงค์
ภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ภาวะโลกร้อน คือปรากฏการณ์ที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ เนื่องจากโลกของเราถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจก ที่มากเกินสมดุลของธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกสิ่งภายในโลก ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล น้ำท่วม อากาศหนาวและร้อนผิดปกติเราจึงจัดกิจกรรมให้เด็กอนุบาลได้สำนึกถึงปัญหาของภาวะโลกร้อน
เป้าหมาย
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาเด็กตามแนวโครงการพระราชดำริฯ รวมทั้งปลูกฝัง
ให้ เด็กไทยเห็นคุณค่า และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม ตั้งแต่วัยอนุบาล
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาลเห็นถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อน
3. เพื่อฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาลรู้จักคุณค่าของต้นไม้
วิธีดำเนินการ
กิจกรรมเรียงลำดับภาพเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า
1. แนะนำเด็กให้รู้จักและสังเกตเกมเรียงลำดับภาพเหตุการณ์สภาพของป่าไม้ โดยสนทนาภาพกับเด็กทีละภาพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพ
2. ให้เด็กนำภาพมาเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลังตามแนวตั้งหรือแนวนอนให้ถูกต้อง
3. เมื่อเด็กเล่นเสร็จให้เก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย
กิจกรรมศิลปะลดโลกร้อน
1. อธิบายวิธีการทำ ให้เด็กฟัง และสนทนาให้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของถุงผ้ากับภาวะโลกร้อน
2. ครูให้เด็กเตรียมถุงผ้ามาคนละหนึ่งถุง
3. จากนั้นแจกสีให้เด็กช่วยกันตกแต่งให้สวยงาม
กิจกรรมการปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน
1. เปลี่ยนจากการจัดกิจกรรมภายในห้องเรียน มาเป็นภายนอกห้องเรียน
2. ครูแจกต้นไม้สำหรับปลูกให้เด็กคนละต้น
3. เมื่อแจกเสร็จให้ครูพาเด็กนำต้นไม้ไปปลูกยังบริเวณที่จัดเตรียมไว้
4. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้เด็กทำความสะอาดร่างกาย
การประเมินผลโครงการ
1. สังเกตพฤติกรรม ความตั้งใจฟังการบรรยาย การซักถามข้อมูลของเด็ก
2. สังเกตพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
3. สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม และการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนของเด็ก
ชื่อโครงการ กิจกรรมลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ อาจารย์จินตนา
ระยะเวลาดำเนินงาน 1 วัน
……………………………………………………………………………………………………………………
หลักการ
เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3-6 ปี อยู่ในช่วงที่มีการเรียนรู้ได้ดีที่สุด และสิ่งที่เรียนรู้ จะเป็นพื้นฐาน ของการ
ดำรงชีวิตในระยะต่อมา ฉะนั้นการปูพื้นฐานให้เด็กได้รู้จักภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มาจัดเป็นกิจกรรม เป็นสาระการเรียนรู้ที่ผสมผสานกับกิจวัตรประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้เด็ก ได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จึงน่าจะเป็น สิ่งที่มีประโยชน์ยิ่ง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ จึงนับได้ว่าเป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษาอนุบาล ครู และผู้ปกครอง ที่จะได้นำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเด็ก อันเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติสืบไป
วัตถุประสงค์
ภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ภาวะโลกร้อน คือปรากฏการณ์ที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ เนื่องจากโลกของเราถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจก ที่มากเกินสมดุลของธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกสิ่งภายในโลก ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล น้ำท่วม อากาศหนาวและร้อนผิดปกติเราจึงจัดกิจกรรมให้เด็กอนุบาลได้สำนึกถึงปัญหาของภาวะโลกร้อน
เป้าหมาย
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาเด็กตามแนวโครงการพระราชดำริฯ รวมทั้งปลูกฝัง
ให้ เด็กไทยเห็นคุณค่า และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม ตั้งแต่วัยอนุบาล
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาลเห็นถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อน
3. เพื่อฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาลรู้จักคุณค่าของต้นไม้
วิธีดำเนินการ
กิจกรรมเรียงลำดับภาพเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า
1. แนะนำเด็กให้รู้จักและสังเกตเกมเรียงลำดับภาพเหตุการณ์สภาพของป่าไม้ โดยสนทนาภาพกับเด็กทีละภาพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพ
2. ให้เด็กนำภาพมาเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลังตามแนวตั้งหรือแนวนอนให้ถูกต้อง
3. เมื่อเด็กเล่นเสร็จให้เก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย
กิจกรรมศิลปะลดโลกร้อน
1. อธิบายวิธีการทำ ให้เด็กฟัง และสนทนาให้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของถุงผ้ากับภาวะโลกร้อน
2. ครูให้เด็กเตรียมถุงผ้ามาคนละหนึ่งถุง
3. จากนั้นแจกสีให้เด็กช่วยกันตกแต่งให้สวยงาม
กิจกรรมการปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน
1. เปลี่ยนจากการจัดกิจกรรมภายในห้องเรียน มาเป็นภายนอกห้องเรียน
2. ครูแจกต้นไม้สำหรับปลูกให้เด็กคนละต้น
3. เมื่อแจกเสร็จให้ครูพาเด็กนำต้นไม้ไปปลูกยังบริเวณที่จัดเตรียมไว้
4. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้เด็กทำความสะอาดร่างกาย
การประเมินผลโครงการ
1. สังเกตพฤติกรรม ความตั้งใจฟังการบรรยาย การซักถามข้อมูลของเด็ก
2. สังเกตพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
3. สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม และการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนของเด็ก
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สมุดจดการบ้าน
ครั้งที่ 1 ให้เขียนโครงการเกี่ยวกับลดภาวะโลกร้อน
ครั้งที่ 2 อาจารย์ให้กับไปแก้ไขโครงการเพราะทุกกลุ่มยังทำไม่เรียบยร้อย
ครั้งที่ 3 ไปคิดกิจกรรมศิลปที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์
ครั้งที่ 2 อาจารย์ให้กับไปแก้ไขโครงการเพราะทุกกลุ่มยังทำไม่เรียบยร้อย
ครั้งที่ 3 ไปคิดกิจกรรมศิลปที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์
15/07253
วันนี้นำเสนอโครงการของแต่ละกลุ่มที่นำมาเสนอให้แต่ละกลุ่มนำโครงการมาอภิปรายอาจารย์จะให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแล้วให้เพื่อนร่วมแสดงความคิดเห็น
กลุ่มที่ 1 ซูนีตา เป็นการนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้วนำมาทำเป็นที่ปลูกต้นไม้
กลุ่มที่ 2 น้ำฝน ตกแต่งถุงผ้าเพื่อลดภาวะโลกร้อน
กลุ่มที่ 3 สุพัตตา การนำกล่องนมมาตกแต่งเป็นชุดรีไวเคิล
กลุ่มที่ 4 เพ็นศรี การเรียงลำดับภาพ การตกแต่งถุงผ้า การปลูกต้นไม้
กลุ่มที่ 5 ศุภาพร การสอนให้เด้กแยกขยะและทิ้งขยะให้ถูกที่
อาจารย์ให้ไปแก้ไขในจุดที่ยังไม่สมบูรณ์แล้วอาทิตย์หน้านำมาเสนอ
วันนี้นำเสนอโครงการของแต่ละกลุ่มที่นำมาเสนอให้แต่ละกลุ่มนำโครงการมาอภิปรายอาจารย์จะให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแล้วให้เพื่อนร่วมแสดงความคิดเห็น
โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ซูนีตา เป็นการนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้วนำมาทำเป็นที่ปลูกต้นไม้
กลุ่มที่ 2 น้ำฝน ตกแต่งถุงผ้าเพื่อลดภาวะโลกร้อน
กลุ่มที่ 3 สุพัตตา การนำกล่องนมมาตกแต่งเป็นชุดรีไวเคิล
กลุ่มที่ 4 เพ็นศรี การเรียงลำดับภาพ การตกแต่งถุงผ้า การปลูกต้นไม้
กลุ่มที่ 5 ศุภาพร การสอนให้เด้กแยกขยะและทิ้งขยะให้ถูกที่
อาจารย์ให้ไปแก้ไขในจุดที่ยังไม่สมบูรณ์แล้วอาทิตย์หน้านำมาเสนอ
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วิทยาศาสตร์คืออะไร
30/06/53
-วันนี้ได้รู้ความหมายของคำว่าวิทยาศาสตร์และสามารถนำมาใช้สอนเด้กปฐมวัยได้และมีความสำคัญอย่างไร วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยผู้ใหญ่ควรเปิดใจและเข้าใจธรรมชาติของเด็กควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้
สรุปว่าที่เรียนทั้งหมดเข้าใจอะไรบ้าง
- วิทยาศาสตร์สามารถสอนกับเด็กปฐมวัยได้
-มีความสำคัญต่อระบบการสอน
-วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน
-เมื่อเด็กเกิดความสงสัยควรอธิบาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)