1.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดการสอนให้เด็กเข้าถึงวิทยาศาสตร์จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุนครูหรือผู้ปกครองเช่นกันเพียงแค่หยิบยกเรื่องราวในชีวิตประจำวันหรือธรรมชาติรอบตัวมาสร้างบรรยากาศและกระตุ้นการเรียนรู้ให้หนูน้อยสนุกกับกาค้นคว้าและหาคำตอบได้ก็อาจทำให้นักวิทยาศาสตร์น้อยในวันนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในวันหน้า
2.เพราะปัญญาเป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่างปัญญาเกิดจากกระบวนการคิดที่เราได้สังเกตสิ่งต่างๆจะสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นได้ต้องพัฒนากระบวนการสังเกต การเรียนรู้ของเด็ก และจะเกิดความรู้ตามมาซึ่งเด็กทุกคนช่างสงสัยและมีคำถามที่อยากรู้มากมายอยู่แล้วแต่กลับกลายเป็นว่าเมื่อเด็กเข้าสู่ห้องเรียนความอยากรู้ของเด็กจะค่อยๆลดลงจนเหลือศูนย์เมื่อเด็กจบมหาวิทยาลัย
3.ระบบการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ครูยัดเยียดความรู้ให้เด็กถูกจำกัดอยู่ในกรอบโดยเด็ดขาดการกระตุ้นศักยภาพของเด็กทำให้ประเทศไทยทุกวันนี้แทบไม่มีนักวิทยาศาสตร์ที่ริเริ่มคิดค้นสิ่งใหม่มีแต่นักเทคโนโลยีที่เอาสิ่งที่คนอื่นคิดค้นคว้ามาปรับเปลี่ยนให้ไม่เหมือนเดิม
4.ครูอย่าด่วนอธิบายเมื่อเด็กอยากรู้ไม่อย่างนั้นจำทำให้เด็กตาบอดถ้าอยากให้เด็กฟังก็อย่ารีบบอกจนหมดไม่อย่างนั้นเด็กจะหูหนวก แต่ควรประเมินค่าว่าเด็กสังเกตเห็นอะไรบ้างรับรู้ได้แค่ไหนแล้วครูก็ค่อยๆเพิ่มเติมเข้าไปทีละนิดโดยให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มมากขึ้น
5.ผู้ปกครองต้องมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กโดยจัดสภาพแววล้อมให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีเพราะเด็กจะซึมซับจากผู้ปรครองได้มากถึง90%
6.คุณครูสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กในรูปแบบของกิจกรรมหรือการเล่นต่างๆ การพับกระดาษ การเล่นกลวิทยาศาสตร์หรือจำแนกความแตกต่างของรูปซึ่งเด็กจะมีจินตนาการและมุมมองที่หลากหลายมากกว่าที่ผู้ใหญ่มองเห็นเป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและฝึกทักษะในการจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ
7.การรีไซเคลขยะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กเป็นอย่างดีเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องการจำแนกไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม(รีไซเคิล= การจำแนกประเภท+การรักษาสิ่งแวดล้อม+...)
หรือการเก็บรวบรวมลวดเย็บกระดาษที่ใช้แล้วซึ่งเมื่ออยู่โดเดี่ยวอาจดูน้อยนิดแต่เมื่อนำมารวมกันมากขึ้นก็สามารถนำไปรีไซเคิลได้และแม้ว่าจะมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ไม่มากมายแต่เป็นจุดเริ่มของการคิดสร้างสรรค์ในอนาคต
8.การฝึกหัดถ่ายภาพพืชสัตว์ในธรรมชาติรอบๆตัว ระหว่างคุนครูหรือผู้ปกครองและเด็กๆก็ช่วยกระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นได้ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราพบกับสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อนและทำให้เด็กสนุกกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อหาคำตองให้กับตัวเองทั้งจากผู้รู้ หนังสือ อินเทอร์เน็ต
9.การสอนวิทยาศาสตร์จากประเทศอิสราเอลที่มีแนวคิดการสืบสวนสอบสวนฝึกให้เด็กเข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการพิสูจน์ด้วยตนเองว่าความรู้ที่ได้รับนั้นเป็นเรื่องจริงมีใจเปิดกว้างเผชิญหน้ากับความล้มเหลวได้โดยการเข้าใจความเป็นจริง
10.เด็กเรียนรู้เรื่องราวในชิวิตประจำวันสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและธรรมชาติรอบตัว เช่น วันทั้ง 7 ใน1 สัปดาห์,สิ่งของหรือเศษวัสดุๆและต้นไม้ใบหญ้ารอบตัวซึ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งภาษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ไปพร้อมกับเด็กได้ฝึกสังเเกตสิ่งรอบตัว ฝึกการเรียนรู้ รู้จักแยกแยะและจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆตามลักษณะต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สีสัน ขนาด หรือพื้นที่เป็นต้น
11.คุณครูผู้สอนต้องให้โอกาสเด็กได้สัมผัสด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดและเขาจะรับรู้ได้ด้วยใจ โดยไม่สำคัญว่าถูกหรือผิดแต่เปิดโอกาสให้เด้กได้เรียนรู้ได้ใช้ความคิดและจินตนาการของเขาเองเพื่อกระตุ้นให้เขาอยากเรียนรู้ต่อๆไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น